วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558







คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย

คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์

มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิดคำนวณมากขึ้น


 

คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด
ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ การควายคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย นอกจากนี้ยังมีเครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครของขวัญความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด
ราว ๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง) [11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใด ๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย)


ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์ เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์ ขึ้นได้โดยบังเอิญ ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง







ข้อมูล
            คือลำดับของสัญลักษณ์ใด ๆ ที่มีความหมายโดยการปฏิบัติการเฉพาะเพื่อตีความ ข้อมูลดิจิทัลคือปริมาณ อักขระ หรือสัญลักษณ์ในการดำเนินการอันกระทำโดยคอมพิวเตอร์ เก็บและบันทึกลงในสื่อแม่เหล็ก เชิงแสง หรือเชิงกลเป็นต้น และส่งผ่านในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้า  โปรแกรมคือกลุ่มข้อมูลที่ประกอบด้วยอนุกรมของชุดคำสั่งซอฟต์แวร์ที่ลงรหัสไว้ สำหรับควบคุมการดำเนินการของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรอื่น องค์ประกอบของหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ทางกายภาพ ประกอบด้วยเลขที่อยู่และหน่วยเก็บข้อมูลไบต์หรือเวิร์ด ข้อมูลดิจิทัลมักจะถูกเก็บในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เช่นตารางหรือฐานข้อมูลเอสคิวแอล และโดยทั่วไปสามารถแทนด้วยข้อมูลคู่กุญแจ-ค่าแบบนามธรรม ข้อมูลสามารถถูกจัดการให้เป็นโครงสร้างข้อมูลได้หลายชนิด อาทิ แถวลำดับ กราฟ วัตถุ ฯลฯ และโครงสร้างข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้หลายประเภท เช่นจำนวนตัวเลข สายอักขระ หรือแม้แต่โครงสร้างข้อมูลอื่น ข้อมูลถูกส่งผ่านเข้าและออกคอมพิวเตอร์ผ่านทางอุปกรณ์รอบข้าง
ในการใช้คำอีกทางหนึ่ง ไฟล์ฐานสอง (ซึ่งมนุษย์อ่านไม่ได้) บางครั้งก็ถูกเรียกว่า "ข้อมูล" เพื่อให้แตกต่างจาก "ข้อความ" ที่มนุษย์อ่านได้  มีการประมาณการไว้ว่า ปริมาณของข้อมูลดิจิทัลใน พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 281 เอกซะไบต์ (2.81 แสนล้านกิกะไบต์)

ลักษณะเฉพาะสิ่งสำคัญของข้อมูลคือ ข้อมูลอันหนึ่งคือค่าที่เก็บอยู่ที่ตำแหน่งเฉพาะแห่งหนึ่ง


โดยพื้นฐานแล้ว คอมพิวเตอร์จะปฏิบัติการตามลำดับของชุดคำสั่งที่กำหนดไว้ในรูปแบบของข้อมูล กลุ่มของชุดคำสั่งที่ทำงานตามที่กำหนดเรียกว่า "โปรแกรม" หากพิจารณาตามที่เรียก โปรแกรมที่ถูกเรียกใช้โดยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยรหัสเครื่องฐานสอง องค์ประกอบของหน่วยเก็บที่จัดดำเนินการโดยโปรแกรมก็เป็นข้อมูลเช่นกัน (ไม่คำนึงถึงส่วนที่ดำเนินการจริงโดยซีพียู) บทสรุปที่น่าพิศวงก็คือ ทั้งชุดคำสั่งของโปรแกรมและข้อมูลที่โปรแกรมจัดการ ต่างก็ถูกเก็บบันทึกด้วยวิธีเดียวกัน ดังนั้นมันจึงเป็นไปได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็อาจทำงานบนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นได้ โดยจัดดำเนินการบนข้อมูลเชิงโปรแกรมของมัน

เส้นแบ่งระหว่างโปรแกรมกับข้อมูลนั้นก็อาจคลุมเครือ ยกตัวอย่างอินเทอร์พรีเตอร์เป็นโปรแกรมหนึ่ง ข้อมูลที่ป้อนเข้าอินเทอร์พรีเตอร์ก็เป็นโปรแกรมโดยตัวมันเอง เพียงแต่ว่ามันยังไม่ได้ถูกแปลเป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องทำงานได้ ในหลาย ๆ กรณี โปรแกรมที่ป้อนเข้าอินเทอร์พรีเตอร์นั้นจะเป็นไฟล์ข้อความที่มนุษย์สามารถอ่านได้ ซึ่งจัดดำเนินการโดยโปรแกรมแก้ไขข้อความ (อันเกี่ยวข้องกับข้อมูลข้อความล้วนมากกว่า)เมทาโปรแกรมมิงก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับโปรแกรมที่จัดดำเนินการโปรแกรมอื่นเป็นข้อมูล โปรแกรมอย่างเช่นคอมไพเลอร์ ลิงเกอร์ ดีบักเกอร์ ตัวอัปเดตโปรแกรม โปรแกรมสแกนไวรัส ฯลฯ ก็ใช้โปรแกรมอื่นเป็นข้อมูลเช่นกัน









1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
    

แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้        จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD)        น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน
กับแล็ปท็อป
     


2. สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)
ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร

การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้

สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที




3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)
มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร

4. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก

เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด
ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม


5. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ และสามารถทำงานได้เร็วเพราะมีรูปแบบการคำนวณที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ












-pc สำเร็จรูป
    ข้อดีคือ คุณภาพ ได้มาตรฐาน   เพราะ ใช้ หม้อแปลงไฟ ที่มาตรฐาน  ชิ้นส่วนอื่น ก็ พอๆกับคอมประกอบนี้ละ  ถ้าอยู่ในระยะประกัน  โทรเรียก ช่าง หรือส่งศูนย์ ซ่อมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   เหมาะสำหรับคนที่ไม่เป็นคอมพิวเตอร์
     ข้อเสีย   ระยะการประกัน ต่อชิ้นส่วน บางชิ้นน้อยกว่าคอมประกอบ เกินระยะประกัน มีค่าใช้จ่าย อะไหล่ สูงกว่าคอมประกอบ   บางรุ่น มี ขนาดไม่ปรกติ แบบ pc ประกอบ  เวลาซื้อมาใส่ ต้องดูขนาด ช่องดีๆ
       ถ้าชิ้นส่วน สเปคพอๆกัน มักมีราคาแพงกว่า pc ประกอบ  4-5 พันบาท   เขาถือว่า รวมค่า service+ ประกันไปในตัว  เวลาซ่อม คุณภาพในการซ่อมอยู่ในมาตรฐาน  แต่ก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ข้อดีคือซ่อมแล้ว ไม่หาย ถ้าอยู่ในระยะประกันซ่อม  ซ่อมใหม่ได้  เป็นบางเจ้า

- PC ประกอบ  
    ข้อดี  เลือกชิ้นส่วน ยี่ห้อ รุ่น + คุณภาพดีแค่ไหนก็ได้ตามงบที่ตัวเองมีอยู่     ชิ้นส่วน หลายชิ้น มีระยะประกันยาวนานกว่า pc สำเร็จรูป  ราคา ถ้าสเปคพอกันจะูถูกกว่า

   ข้อเสีย   หลักการคือ  ตนเป็นที่พึ่ง  แห่งตน  ส่งซ่อมเอง คุณภาพการซ่อม แล้วแต่ เจอช่างประเภทไหน  ช่างบางท่าน มีความสามารถ เก่งกว่าช่างศูนย์ ด้วยซ้ำ  บางท่านก็ เหอๆ  ผู้ชื้อหลายท่าน  มีความรู้เรื่องคอม หาสาเหตุ อาการเีสีย  สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเอง 







ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
1. โปรเซสเซอร์ (Processor) นั่นก็คือหน่วยประผลกลางหรือที่รู้จักกันในนามของซีพียู (CPU) นั่นเอง หรือเรียกว่าซิป ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะว่ามีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา ซึ่งซีพียูนั้นมีรุ่นต่างๆ ออกมาวางขายตามท้องตลาดมากมาย ซึ่งแต่ละรุ่นก็ราคาแตกต่างกันออกไป
2. หน่วยความจำ (Memory) หรือ RAM นั่นเอง ซึ่ง RAM นั้นเป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรองนั่นเอง ก็คือจะเก็บข้อมูลชั่วคราว ซึ่งหน่วยความจำแรมจะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output) ก็คืออุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ เช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ สแกนเนอร์ และอุปกรณ์ Output ก็ได้แก่พวก เครื่องพิมพ์  จอภาพ
4.  สื่อจัดเก็บข้อมูล  (Storage) นั่นก็คือสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนอื่นๆ

 

จอภาพ หรือ monitor : เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่สำคัญที่สุด จะเป็นส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง เพราะเราสามารถมองเห็นข้อมูลที่ที่แสดงผลได้โดยผ่านจอภาพของเรา จอภาพของคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือจอแบบซีอาร์ที และจอแบบแอลซีดี






เคส (case) : คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย
 



พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) : เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์









คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) : เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น






เมนบอร์ด (Main board) : เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด






ซีพียู (CPU) : มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป



การ์ดแสดงผล (Display Card) : หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย


เมาส์ (Mouse) จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์

เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว





แรม (RAM)

เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
















มาว่ากันด้วยวิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่กับเพื่อนๆไปนานๆง่ายๆ 10 วิธีดังนี้

1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง : วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิดครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วยนะครับ เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์
 
2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง : สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างครับ เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ อย่าลืมใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาดนะครับถ้าใครมีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่าลม สามารถเป่าเครื่องได้นะครับเพื่อไล่ฝุ่นออกจากคอมพิวเตอร์

3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่างครับ เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในครับว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ
4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์
ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด ครับเพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกันครับ ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่าจะแน่นอนสุดครับ เย็นทั้งคนและเครื่อง

5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน : วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อนนะครับ ^^

6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่

7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับเพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ

8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาหน่อยครับเพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูปภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่น nod32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาครับ





9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน

10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐานครับ เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ 9 จนถึง 1 ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ยากครับเพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนครับเพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน

เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลงครับ







คงมีการเถียงกันอยู่หลายครั้งว่า การ์ดจอ on bord กับ การ์ดจอแยก ต่างกันยังไงอันไหนดีกว่า ผมจะสรุปสั้นๆว่า


การ์ดจอแยก จะสามารถถอดออกได้และมีคุณภาพสูงกว่าและลดความร้อนบน mainbord ได้ด้วย
 
การ์ดจอ on bord จะไม่สามารถเล่นเกมหรือทำงานกราฟฟิคสูงได้ แต่ในปัจจุบันก็มีความสามารถที่สูงขึ้น แต่ไม่เทียบเท่าการ์ดจอแยกอยู่ดีครับ